เว็บข่าวสร้างสรรค์สังคม เทิดทูนสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของข่าวทั่วไป ข่าวสังคม ข่าวท้องถิ่น ร้านอาหารอร่อย และยังรับออกแบบ จัดงานอีเวนท์ ทุกประเภท รับงานออกสื่อออนไลน์ และสื่อหลักทั้งหนังสือพิมพ์และทีวี
วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567
รศ.ดร.พิพัฒน์ นนทนาธรณ์ นายกสมาคมนักวิจัยแห่งประเทศไทย แถลงข่าวชูข้อดีกัญชา พร้อมขอเชิญชวนและผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้กัญชารักษาโรค ร่วมต้านถอนปลดล้อคกัญชา กัญชง
(อ่านแล้ว 276 ครั้ง)
Share on Google+

 

 

วันนี้ 30 ก.ย.2565 ที่ห้องประชุมสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ รศ.ดร.พิพัฒน์ นนทนาธรณ์ นายกสมาคมนักวิจัยแห่งประเทศไทย เป็นประธานแถลงข่าวนโยบายกัญชาทางการแพทย์ ปัญหา ข้อโต้แย้ง และทางออกของร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง ซึ่งคณะทำงานวิจัยกัญชาทางการแพทย์และสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สมาคมนักวิจัยแห่งประเทศไทย มีมติสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง / โดยมี คุณอัมษรินทร์ วงศ์วัชระโชค ( หมอโรส) แพทย์แผนไทย  /  ตัวแทนจากเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนทางการแพทย์ และ ตัวแทนจากวิสาหกิจชุมชนพื้นที่ต่างๆ รวมถึงแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมการแถลงข่าว โดยมีคณะสื่อมวลชนจากสมาคมผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนเพื่อสังคมประเทศไทยร่วมทำข่าวและเป็นสักขีพยาน

รศ.ดร.พิพัฒน์ นนทนาธรณ์ นายกสมาคมนักวิจัยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กัญชาทางการแพทย์ มนุษย์มีการใช้กัญชาเป็นยารักษาโรคมานานนับพันปี ในร่างกายสัตว์ที่มีความซับซ้อนทุกชนิด ตั้งแต่ปลาไปจนถึงมนุษย์จะมีระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ซึ่งเป็นระบบการควบคุมที่มีความซับซ้อนมากและมีการทำงานที่หลากหลายเช่น ความจำ การย่อยอาหาร การเคลื่อนไหว การตอบสนองด้านภูมิต้านทานและการอักเสบ ความอยากอาหาร ความเจ็บปวด ความดันโลหิต การเจริญของกระดูก การป้องกันเนื้อเยื่อประสาท และอื่นๆอีกมาก  เราทราบกันดีว่าประเทศไทยได้มี การร่าง พรบ.เรื่องกัญชาและกัญชง และได้ผ่านวาระที่ 1 ไปซึ่งมีการแก้ไขมาตราต่างๆเพิ่มเติม และพอเข้าวาระที่ 2 ทางสภาผู้แทนราษฏรได้มีมติให้ถอนร่างพิจารณาใหม่ ในขณะที่ความจำเป็นในการใช้กัญชาทางการแพทย์ของประเทศไทยนั้นเป็นไปอย่างแพร่หลาย มีการจ่ายยาไปนับแสนเคส แต่กลับถูกเสนอให้มีการถอนร่างออกไป ซึ่งมีข้อเรียกร้องกันมาเยอะจากเครือข่ายของสมาคมนักวิจัยที่อยู่ในจังหวัดต่างๆ การแถลงข่าวครั้งนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงพลังให้รัฐบาลเห็นว่าผู้ที่เห็นคุณค่า ใช้ประโยชน์จากกัญชามีอยู่เยอะ อาทิ ผู้ที่เป็นโรคร้ายรักษาไม่หายเมื่อมาทดลองใช้การรักษาโดยกัญชาผลปรากฏว่าอาการดีขึ้น จนถึงหายขาด เพราะฉะนั้นคนกลุ่มนี้ก็อยากออกมาปกป้องสิทธิในการรักษาสุขภาพของตัวเองในการเข้าถึงกัญชา

โดยเรื่องหลักการและเหตุผลของการใช้กัญชาทางการแพทย์ที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันคือ อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดปี ค.ศ.1961แม้ว่าอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติด ค.ศ. 1961 (Single Convention on Narcotic Drugs, 1961) จะกำหนดให้กัญชาเป็นยาเสพติดโดยถอดออกจากประเภทที่ 4 ให้มาอยู่ประเภทที่ 1 ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกและไม่ได้ห้ามใช้ในทางการแพทย์และทางวิทยาศาสตร์ ประเทศไทยสามารถดำเนินการออกกฎระเบียบเพื่อใช้ควบคุมการดำเนินงานทางด้านกัญชากัญชงไม่ว่าจะเป็นการเพาะผสมพันธุ์เมล็ด การปลูก การสกัดและแปรรูป และการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมได้ ทั้งนี้จะต้องมีระเบียบที่ชัดเจน มีระบบรายงานที่สามารถทราบสถานะของการดำเนินงานด้านกัญชากัญชงในระยะต่างๆ ตั้งแต่เมล็ดพันธุ์จนถึงการนำไปใช้ประโยชน์ดังกล่าว นอกจากนั้นประชาชนผู้เจ็บไข้ได้ป่วยย่อมมีสิทธิที่จะเลือกหนทางในการรักษาอาการเจ็บป่วยของตนเองด้วยวิธีการต่างๆ ที่สอดคล้องตามหลักศีลธรรมและตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับก็ได้กำหนดหลักการเหล่านี้สอดคล้องกัน ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. 2540 ฉบับ พ.ศ. 2550 และฉบับ พ.ศ. 2560 ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยก็ไม่เคยค้นคว้าวิจัยกัญชา กัญชง เพื่อทำประโยชน์ใดๆ มานับสิบปี ขณะที่ต่างประเทศระดมทุน กำลังนักวิจัย ค้นคว้า จนพบข้อดีมากมายของกัญชา จนนำไปสู่การปลดล็อคถึง 56 ประเทศ จนปี พ.ศ.2564 รัฐบาลมีการร่าง พรบ.ในวาระที่1 ที่ปลดกัญชาออกจากยาเสพติด ระบุว่ากัญชาไม่ใช่ยาเสพติด ยกเว้นตัวที่มีสารสกัด THC ( Tetrahydrocannabino ) เกิน 0.2 % แต่ปัจจุบันยังคงเป็นที่ถกเถียงถึงการละเมิดอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติด ปี ค.ศ.1961 และในการประชุมวาระที่2 สภาผู้แทนราษฏร์ได้เสนอถอดถอน พรบ.ดังกล่าว

 

 

จากความเห็นและข้อสังเกตต่อร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง เสนอต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่นำเสนอในเดือนกันยายน 2565 นั้น คณะทำงานวิจัยกัญชาทางการแพทย์และสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สมาคมนักวิจัยแห่งประเทศไทย มีความเห็นโต้แย้งในการเสนอถอดถอน พรบ.กัญชา กัญชง ดังนี้

1) ควรแยกบทบัญญัติเกี่ยวกับการควบคุมหรือกำกับดูแลกัญชาออกจากกัญชงเนื่องจากเป็นพืชที่มีคุณสมบัติและการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน

2) มีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เป็นกฎหมายที่เป็นปัจจัยและแนวโน้มที่คาดว่าจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมากและเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ประเทศไทย  คณะทำงานฯ เห็นว่าคำกล่าวนี้ยังเลื่อนลอยเกินไป ถ้าพิจารณาอัตราการเติบโตของตลาดแคนนาบิส ของโลกจะมีอัตราการเติบโตระหว่าง ค.ศ. 2021-2028 ถึงร้อยละ 32.04 ขนาดตลาดโลกในปี 2024 มีการขยายตัวถึง 103.9 พันล้านเหรียญ สรอ. การเติบโตของตลาดแคนนาบิสในสหรัฐอเมริกาถึงปี 2030 จะเติบโตถึง 58 พันล้านเหรียญ สรอ. แม้ว่าตัวเลขดังกล่าวจะมาจากแหล่งที่มาที่แตกต่างกัน แต่ก็ยันกันได้ว่าตลาดแคนนาบิสมีการเติบโตเปรียบดัง Unicorn ที่เป็นโอกาสประเทศไทยสามารถที่จะบรรลุได้เมื่อมีพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง  

3) ผลกระทบที่อาจเกิดจากร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง  มีเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นการส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนปลูกกัญชาตามนโยบายรัฐบาลและเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเสพหรือใช้กัญชาโดยเสรีเพื่อนันทนาการมิใช่ทางการแพทย์ จะทำให้เกิดปัญหาทางสังคมหลายประการ ความเห็นและข้อสังเกตในประเด็นเหล่านี้ดูจะเป็นการนำเสนอแต่ทางลบเพียงอย่างเดียว ข้อมูลทางด้านบวกมีอยู่มากมายเช่น การสำรวจของสำนักวิจัยซุเปอร์โพลเรื่องทัศนคติคนไทยต่อกัญชาและการใช้

 

 

4) พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 กัญชาเป็นสมุนไพรตัวหนึ่งในการทำวิจัยต่างๆ และมีความจำเป็นต้องใช้การดูแลรักษาสุขภาพและบำบัดรักษาโรคด้วยการแพทย์แผนไทย ซึ่งภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยมีความรู้ในการมใช้กัญชาช่วยรักษาโรคมากว่า 300 ปี ที่เรียกว่าโอสถพระนารานณ์  อันมีประโยชน์ต่อการนำมาพัฒนาและใช้ประโยชน์ยังมิได้รับการคุ้มครอง ส่งเสริม อนุรักษ์และพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ เห็นสมควรมีมาตรการคุ้มครองและส่งเสริมให้เอกชน ชุมชน และองค์กรเอกชนตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ พัฒนา และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่กล่าวไว้ข้างต้นก็ให้สิทธิของประชาชนและกำหนดหน้าที่ของรัฐในการดูแลสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะการส่งเสริมและสนับสนุนภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยให้มีการพัฒนายิ่งขึ้น

5) การใช้ประโยชน์จากกัญชา กัญชาทางการแพทย์ Uwe Blesching ได้เขียนหนังสือ The Cannabis Health Index ที่รวบรวมงานวิจัยและได้มีการอ้างอิงไว้กว่า 1,000 แห่ง เป็นการผสมผสานวิทยาศาสตร์ของกัญชาทางการแพทย์และเทคนิคทางจิตใจเพื่อเยี่ยวยาอาการเรื้อรังและโรคภัยต่างๆถึง 100 โรค โดยรวบรวมการทดลองรักษาบำบัดโรคด้วยกัญชาและนำมาจัดทำเป็นดัชนีเรียกว่า CHI (Cannabis Health Index)

นอกจากนั้นยังมีข้อมูลจากสหรัฐอเมริกาจาก Colorado Department of Public Health and Environment (CDHPE) การใช้กัญชาในวัยรุ่นลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 35 จากปี 2020 ถึง 2021 กัญชายังช่วยลดอุบัติเหตุและพบว่ามีความปลอดภัยในท้องถนนมากขึ้น ซึ่งเป็นงานวิจัยจากนักวิจัยของ Temple University และ the University of Arkansas

รศ.ดร.พิพัฒน์ นนทนาธรณ์ นายกสมาคมนักวิจัยแห่งประเทศไทย กล่าวต่อว่า ตนเองขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนทั่วไปที่เห็นด้วยกับการแย้งการถอดถอน พรบ.กัญชา กัญชง  สามารถส่งรายชื่อมาสมทบกับทางสมาคมนักวิจัยฯ ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารใดๆ เพราะเราแค่ต้องการแสดงพลังให้เห็นว่ามีคนจำนวนมากที่ต้องการใช้ประโยชน์จากกัญชา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทางรัฐบาลจะเห็นประโยชน์จากการใช้กัญชาของประชาชน

ตัวแทนจากเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนทางการแพทย์ ได้ขอเชิญชวนสมาชิก ที่มีการยื่นลงทะเบียนจดทะเบียนกว่า 7 แสนราย ขอให้มาร่วมสนับสนุนส่งรายชื่อผ่านสมาคมนักวิจัยแห่งประเทศไทยเพื่อให้กฏหมายเพื่อกัญชาออกโดยเร็ว

ด้านคุณอัมษรินทร์ วงศ์วัชระโชค ( หมอโรส ) กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก เปิดโอกาสให้ยาที่เป็นตำรับรักษาประจำชาติที่ใช้มานับร้อยปี และไม่ปิดกั้นการใช้กัญชา แต่พึ่งมาประกาศในปี พ.ศ.2522 ว่ากัญชาเป็นยาเสพติด แพทย์แผนไทยตั้งแต่สมัยนั้นจึงมีการลบตำรับยาที่มาจากกัญชา แต่พอมามีนโยบายที่สามารถให้แพทย์แผนไทยขออนุญาตนำกัญชามาปรุงเป็นยาได้ แต่เมื่อพอจะนำมาใช้จริงๆก็มีการก็มีการขออนุญาตยากมาก จนปัจจุบันหลังปลดล้อคกัญชา หนังสือตำรายาโบราณจากที่เคยได้รับอนุญาตเพียง 16 ตำรับ ตอนนี้ได้รับอนุญาตมา 162 ตำรับแล้ว ที่คัดกัญชาเข้ามาเป็นสูตรปรุงยา นับเป็นข่าวดีของวงการรักษาสุขภาพท้องถิ่น และขณะนี้เริ่มมีการปรับสูตรตำรับยาที่มีส่วนผสมกัญชา ตนเองและอยากให้แพทย์แผนปัจจุบันหันหน้ามาร่วมกันศึกษากับแพทย์แผนไทย และร่วมกันช่วยชาวบ้านจนถึงสังคมทั่วโลก

 

Share on Google+
เศรษฐกิจในประเทศ