เว็บข่าวสร้างสรรค์สังคม เทิดทูนสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของข่าวทั่วไป ข่าวสังคม ข่าวท้องถิ่น ร้านอาหารอร่อย และยังรับออกแบบ จัดงานอีเวนท์ ทุกประเภท รับงานออกสื่อออนไลน์ และสื่อหลักทั้งหนังสือพิมพ์และทีวี
วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2567
นายกแจ๊ส พร้อม นายกโบวลิ่ง นำชาวรังสิตร่วมพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อหลักเมืองนครรังสิต
(อ่านแล้ว 304 ครั้ง)
Share on Google+

 

วันที่ 12 มีนาคม 2567 ที่เจ้าพ่อหลักเมืองนครรังสิต ซอยรังสิต-ปทุมธานี 31 ต.ประชาธปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี พร้อมด้วย ร้อยตำรวจเอก  ดร.ตรีลุพธ์  ธูปกระจ่าง นายกเทศมนตรีนครรังสิต , นายดนัยธนิต  พิศาลบุตร  ประธานกรรมการบริหาร บริษัท รังสิตร่วมพัฒนา จำกัด  และ นางสุดาลักษณ์  ชินวิรารัฒน์  ผู้บริหารศูนย์การค้าตลาดรังสิต  พร้อมพ่อค้าประชาชนร่วมพิธีบวงสรวงศาล “เจ้าพ่อหลักเมืองนครรังสิต” โดยมีพระธรรมรัตนาภรณ์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 1 เจ้าอาวาสวัดเขียนเขตพระอารามหลวง เดินทางมาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในพิธีฯ

ด้านร้อยตำรวจเอก  ดร.ตรีลุพธ์  ธูปกระจ่าง นายกเทศมนตรีนครรังสิต กล่าวว่าเนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ระบาดอย่างหนักในหลายปีที่ผ่านมาส่งผลให้เศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของพี่น้องชาวรังสิตนั้นลำบากมากในการใช้ชีวิต ซึ่งพอสถานการณ์คลี่คลายลงทางภาคีเครือข่ายของตลาดรังสิตได้จัดพิธีบวงสรวง  “เจ้าพ่อหลักเมืองนครรังสิต” ขึ้นมาเพื่อสืบสานประเพณีและวัฒนธรรม โดยการ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เจ้าพ่อหลักเมืองนครรังสิต เพื่อให้เศรษฐกิจในพื้นที่ตลาดรังสิตกลับมาคึกคักอีกครั้ง

ส่วนทางด้านนายดนัยธนิต  พิศาลบุตร  ประธานกรรมการบริหาร บริษัท รังสิตร่วมพัฒนา จำกัด กล่าวว่า เจ้าพ่อหลักเมืองนครรังสิตนั้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวพื้นที่ตลาดรังสิตให้ความเคารพและสักการะมากกว่า 50 ปี ซึ่งการจัดพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อหลักเมืองนครรังสิตในครั้งนี้ก็เพื่อให้การค้าขายในตลาดรังสิต มีการเจริญเติบโตมั่นคงคึกคักปราศจากสิ่งที่ไม่ดีต่อไป

โดยประวัติความเป็นมาของ“ เจ้าพ่อหลักเมืองนครรังสิต ” นั้นสืบเนื่องจากการสร้างศาลหลักเมืองจังหวัดปทุมธานี โดยนายสุ โอบอ้อม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทมุธานี ในขณะนั้น ( 1 ต.ค. 2519 -30 ก.ย. 2521) ดำริเห็นเป็นสำคัญว่า ควรจะสร้างศาลหลักเมืองไว้ให้มั่นคง เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวปทุมธานี พร้อมทั้งให้เกิดความรักสามัคคีกันให้มากยิ่งขึ้น ทั้งยังนำความสงบสุข ร่มเย็นมาสู่เมือง ด้วยดำรินี้ จึงเห็นพ้องต้องกันระหว่างข้าราชการ พ่อค้าแม่ค้า และประชาชน ได้ร่วมกันสละทรัพย์คนละเล็กคนละน้อย ดำเนินการสร้างศาลหลักเมืองขึ้นในการนี้ทางกรมศิลปากรได้เป็นผู้ออกแบบประดิษฐ์ตัวเสาศาลหลักเมือง ซึ่งทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์นำมาจากสวนป่าลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์มอบให้ดำเนินการสร้างศาลหลักเมืองปทุมธานี เริ่มทำพิธีสะเดาะพื้นที่ ที่จะสร้างศาลหลักเมือง เพื่อความสวัสดิมงคล เมื่อวันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ 2519 วางศิลาฤกษ์หลักเมืองปทุมธานี วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2520 ตรงกับเวลา 15.00 น เดือนยี่ ขึ้น 14 ค่ำ ปีมะโรง กรมศิลปากรออกแบบประดิษฐ์ตัวเสาหลักเมืองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นำเข้าพระตำหนักสวนจิตรลดา เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ 9) ทรงเจิมเมื่อวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ 2521เวลาฤกษ์ 8.29 น. และในคืนนี้เวลาประมาณ 5 ทุ่ม ได้เกิดจันทรคราสจับครึ่งดวงเป็นที่นำอัศจรรย์พิธียกเสาหลักเมืองปทุมธานี วันพุธที่ 23 สิ่งหาคม พ.ศ. 2521 ศาลหลักเมืองปทุมธานีจึงตั้งเด่นเป็นสง่า อยู่หน้าศาลากลางจังหวัดปทุมธานี ไม้ชัยพฤกษ์จากสวนบำลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นไม้มงคลอย่างยิ่ง ได้รับการคัดเลือกสายพันธุ์อย่างดี ลำต้นใหญ่ เมื่อกรมศิลปากรออกแบบประดิษฐ์ตัวเสาหลักเมืองปทุมธานีแล้วยังมีส่วนเหลือของลำต้นที่สวยงามของไม้ชัยพฤกษ์ คณะกรรมการดำเนินงานจึงดำริจัดสร้างเสาหลักเมืองอีกสี่มุมเมือง มุมเมืองด้านทิศตะวันออก คือ ธัญบุรี เสาหลักเมืองตั้งอยู่ที่ศูนย์การด้านตลาดรังสิต ใช้ชื่อว่า "ศาลหลักเมืองรังสิตเหตุการณ์ที่ชาวรังสิต มีโอกาสได้รับอัญเชิญเสาหลักเมืองมาสร้างไว้ที่ศูนย์การค้าตลาดรังสิต การสร้าง "ศาลหลักเมืองรังสิต" ไว้ให้มั่นคง เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวรังสิต  พร้อมทั้งให้เกิดความรักสามัคคีให้มากยิ่งขึ้น ทั้งยังนำความสงบสุข ร่มเย็นมาสู่เมืองรังสิต เนื่องจากปี พ.ศ. 2521 นายพิจิตร จินดาน้อม ได้เป็นคณะกรรมการจังหวัดปทุมธานี ในการจัดสร้างเสาหลักเมือง มาพบคุณสายสุคนธ์ หวั่งหลีเพื่อมาปรึกษาที่จะอัญเชิญเสาหลักเมือง มุมเมืองทิศตะวันออก มาประดิษฐานให้อยู่ที่ศูนย์การค้าตลาดรังสิต คุณสายสุคนธ์ หวั่งหลี ท่านยินดีมากและได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ศูนย์การค้าตลาดรังสิตเทศบาลนครรังสิต

Share on Google+
เศรษฐกิจในประเทศ