
(อ่านแล้ว 90 ครั้ง)
เรื่องวัด เรื่องพระ ยังคงมีประเด็นของพระผู้ใหญ่ที่คนเคารพกราบไหว้มาช้านานแต่กลับมีประเด็นอื้อฉาวเป็นข่าวไม้เว้นแต่ละวันในช่วงนี้ นี่คือสิ่งที่บ่งชี้ว่าคนนิยมกราบไหว้พระที่มีชื่อเสียง วัดที่มีชื่อเสียง มีวัตถุ มากกว่าพระธรรม บางวัดมีเงินเป็นพันล้าน บางวัดเจ้าอาวาสมีเงินส่วนตัวหลักสิบล้าน ทำให้เราลืมมองถึงวัดที่ใช้พระธรรมนำกายและใจ วัดเล็กๆตามชนบท ที่ไม่มีวัตถุของขลังให้ฆราวาสได้เลื่อมใสศรัทธา
ครั้งหนึ่งที่ พระนครชัย กิจจกาโร พระลูกวัด วัดแจ้งลำหิน ต.บึงคำพร้อย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ซึ่งท่านได้ละทิ้งทางโลกมุ่งสู่ทางธรรมมาหลายพรรษา เป็นพระมีกิจวัตรสงฆ์เป็นที่น่าเลื่อมใสรูปหนึ่ง ท่านได้เล่าถึงเรื่องราววัดป่า ใน จว.อุดรธานี ซึ่งตั้งห่างอยู่หมู่บ้านที่ท่านเกิด วัดเล็กๆด้อยพัฒนา ในชนบท แต่ยังคงสร้างความศรัทธาให้ชาวบ้านไม่เสื่อมคลาย เหตุที่พระนครชัย กิจจกาโร ได้เล่าให้ผู้สื่อข่าวได้รับทราบถึงความเป็นมาของวัดที่เป็นที่พึ่งของชาวบ้านด้วยธรรมะ ก็เพราะทางวัดไม่มีอินเตอร์เน็ต ทางเจ้าอาวาสไม่เล่นโซเชียล เน้นมุ่งมั่นและปฏิบัติธรรม อย่างเคร่งคัด ตามหลักคำสอนขององสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
วัดป่าโนนคำชมภู ต.หนองนาคำ อ.เมืองอุดรธานี จว.อุดรธานี เป็นวัดป่าที่อยู่ห่างจากถนนลาดยางและหมู่บ้านนับสิบกิโลเมตร มี พระอาจารย์ ถาวร ปัญญาถาวโร อายุ 66 ปี พรรษา 33 ปี เป็นผู้ก่อตั้งร่วมกับญาติโยมและชาวบ้านที่ศรัทธา ตั้งแต่ พ.ศ 2547 จนวันนี้รวม 22 ปี และยังคงไม่มี น้ำ ไฟฟ้า ต้องใช้เครื่องช่วยปั่นไฟ และสูบน้ำบาดาล ใช้แค่เพียงพอต่อการต้องการของสงฆ์ ปัจจุบันวัดป่าโนนคำชมภู มีพระบวชจำพรรษาอยู่ 5 รูป รวมเจ้าอาวาส ปฏิบัติธรรมอย่างสมถะ
พระอาจารย์ ถาวร ปัญญาถาวโร ท่านมีกิจวัตรสงฆ์ที่ควรค่าแก่การศรัทธา ตั้งใจปฏิบัติธรรมเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนาและอยากให้วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจที่พึ่งของประชาชนในพื้นที่ ท่านต้องการจะสร้างเมรุ และศาลามุงหลังคาพระพุทธรูปองค์ใหญ่ และ สถานที่เผาศพ เพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้กันสะดวกมากขึ้น แต่ยังไม่แล้วเสร็จเพราะวัดไม่มีเงิน และทางท่านเจ้าอาวาสก็ไม่เคยขอเรี่ยไรใคร นอกจากมีบุญผ้าป่า กฐิน จากชาวบ้านเล้กๆน้อยๆ รวมๆกัน ที่ผ่านมาจนขณะนี้ทางวัดใช้เป็นเมรุเผาฟืนไม้ สร้างไว้สำหรับฌาปนกิจศพผู้ยากไร้ไม่มีเงินและยากจน โดยทำการฌาปนกิจให้ฟรี ชื่อสถานที่เผาศพศาลามรณะนิจัง และเป็นสถานที่พระนั่งสวดพระอภิธรรมศสวดศพ ยังไม่มีแม้มุงโครงหลังคากันฝนและแดด
ซึ่ง พระนครชัย กิจจกาโร ท่านได้เล่าทิ้งท้ายไว้ว่าสักวันท่านอยากกลับไปจำพรรษาที่วัดแห่งนี้ ทำนุบำรุงบ้านเกิดด้วยศาสนา
ซึ่งคำบอกเล่าทำให้นึกย้อนกลับไปถึงวัดที่ร่ำรวยจนเกิดความจำเป็นของ คำว่าวัด และ พระสงฆ์ และแม้จะมีข่าวทางลบของวงการสงฆ์อยู่เรื่อยๆ แต่ในพื้นที่ห่างไกล ยังมีวัดที่ไร้ความเจริญ และเป็นวัดที่ชาวพุทธสามารถเข้ากราบไหว้พระสงฆ์ ทำบุญ ได้อย่างสนิทใจ






